14 07 / 2020

ทุกการคลิกเรื่องศิลปะ…ทุกการค้นพบสิ่งใหม่

Baseera Khan, My Family’s Headwraps, 2019. Courtesy of the artist and Simone Subal Gallery, NYC.

ปีแล้วปีเล่าที่บรรดานักสะสมงานศิลปะทั้งหลายได้แสวงซื้องานศิลป์ในงาน Art Basel มีการบันทึกจำนวนผู้เข้าชมไว้ถึง 93,000 คนเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2019 แต่ปีนี้ อย่างที่รู้กันว่าหลายคนต้องเก็บตัวด้วยเหตุโรคระบาดครั้งใหญ่ งานอาร์ทแฟร์และแกลเลอรี่หลายแห่งเองก็ต้องปรับรูปแบบการจัดการผ่านระบบออนไลน์แทน นักสะสมหลายคนจึงให้การสนับสนุนสถาบันหรือองค์กรศิลปะเหล่านั้นด้วยการซื้องานออนไลน์  งานศิลปะจึงเกิดความหมายแห่ง “การสะสมคือการเชื่อมต่อ”

แต่ความท้าทายที่มากับความเป็นจริงรูปแบบใหม่นี้ล่ะ นักสะสมจะใช้หนทางในการจัดการอย่างไรให้ดีที่สุด จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวแทนขายงานหรือศิลปินคนไหนที่พวกเขากำลังมองหาอยู่ หรือมีอะไรที่ต้องระวังไหม?

“ลองนึกดูสิ เมื่อไม่กี่เดือนก่อนธุรกิจนี้ยังใช้อีเมลและโปรแกรม PDF อยู่เลย แต่ตอนนี้มีแต่เรื่องของดิจิตัลเต็มไปหมด ถ้านี่เป็นเพราะคนเราติดต่อสื่อสารกันด้วยวิธีการใหม่ๆ ก็หมายความในเรื่องร้ายก็ยังมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น”
-Marc Spiegler ผู้อำนวยการฝ่ายทั่วโลกของ Art Basel ให้ความเห็น

ในขณะที่นักสะสมงานศิลปะหน้าใหม่อาจอยากเริ่มจากจำนวนน้อยนิด เป็นที่น่าสังเกตว่ามีคนอื่นลงมาเล่นแบบลงลึกในตลาดออนไลน์ก่อนหน้าแล้ว อย่างเช่น Art Basel Hong Kong ทันทีที่เริ่มเปิดขายงานออนไลน์ แกลเลอรี Gagosian ที่เข้าร่วมงานด้วยก็สามารถปล่อยงาน Mary Weatherford ออกไปได้ภายในครึ่งชั่วโมงแรกด้วยราคา 750,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งหลายคนคงจะคุ้นเคยแนวงานอันโด่งดังของเธอที่เป็นจิตรกรรมไฟนีออน

Jeff Koons, Balloon Venus Lespugue (Red), 2013–19. © Jeff Koons. Courtesy David Zwirner.

หรืออย่างล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ แกลเลอรี David Zwirner ก็ได้ขายผลงานประติมากรรม Balloon Venus Lespugue (Red) (2013–19) ของ Jeff Koons ไปได้ด้วยราคา 8 ล้านเหรียญหรือราว 248.12 ล้านบาท ผ่านนิทรรศการออนไลน์ “Studio: Jeff Koons” ในมหกรรมศิลปะ Art Basel ออนไลน์ ทำลายสถิติผลงานศิลปะที่ขายแบบออนไลน์ราคาแพงที่สุด ซึ่งหากคุณสนใจผลงานของ Jeff Koons สามารถเข้าไปดูได้ในเว็บไซด์ของ JWD Art Space เราเป็นตัวแทนจำหน่าย ‘Porcelain Limited Edition’ ของศิลปินชื่อก้องโลกอย่างเป็นทางการแต่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

ว่าด้วยการซื้องานศิลปะออนไลน์ บางทีนี่อาจเป็นช่วงเวลาที่ดีสุดในการซื้องานศิลปะออนไลน์ที่น่าสนใจที่สุด เพราะราคาของผลงานจะถูกเปิดเผยให้เห็นแบบสาธารณะกันไปเลย ไม่ว่าจะงานอาร์ทแฟร์และแกลเลอรีที่ไหนก็ใช้วิธีนี้ งาน Art Basel Hong Kong เองก็ไม่พลาดด้วยเช่นกัน แถมยังมีการเพิ่มจินตนาการให้ผู้ชมด้วยการจำลองภาพมุมมองแบบ Viewing Room คือมีเก้าอี้ให้นั่งชมภาพเสมือนว่าคุณนั่งอยู่บนโซฟาในบ้านนั่นเอง และมีเรื่องดีๆ สำหรับนักสะสมที่กลัวการซื้องานศิลปะออนไลน์ เพราะบรรดาแกลเลอรีกำลังคิดหาวิธีเพิ่มความปลอดภัยขึ้นมาใหม่เท่าที่จะสรรหาได้ กล่าวคือเป็นประสบการณ์การให้คำปรึกษาและสนทนากับตัวแทนขายงานแบบตัวต่อตัวผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งการที่แกลเลอรีพยายามจะเสนอแนะความรู้ให้นักสะสมแบบนี้เคยเป็นสิ่งที่แทบจะเรียกว่าเหลือเชื่อ แต่มันก็เตรียมจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

Jorge Pardo, Untitled (detail), 2002, presented in the Unlimited sector at Art Basel in Basel 2019 by neugerriemschneider, Berlin.

“ไม่เจ็บตัวหรอก ตอนผมเริ่มสะสมงานแรกๆ ก็ขอคำแนะนำจากเพื่อนอย่าง Michael Ovitz เขาก็ไม่ได้ทำอะไรนอกจากส่งข้อมูลศิลปินที่ผมน่าจะรู้จักมาทางอีเมล ลิ้งค์เว็บไซด์ หรือหนังสือ ผมก็เลยลองเลือกแล้วสมัครรับข่าวสารอะไรพวกนี้ พอมีงานประมูลแจ้งเตือนเข้ามา ผมก็เลยพอจะได้เริ่มต้นสะสมงานแบบที่ราคาไม่แรงมาก”
Troy Carter แนะนำเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นการสะสมงานศิลปะของตัวเอง  Carter เป็นนักสะสมแห่งลอสแองเจลิสและผู้ก่อตั้ง Atom Factory บริษัทการจัดการธุรกิจบันเทิงที่นำเสนอนักดนตรีและศิลปินการแสดงมากมายอย่าง Lady GAGA หรือ John Legend

“การชมงานจากอาร์ทแฟร์หรือแกลเลอรีออนไลน์ไม่ได้สนองประสบการณ์แบบส่วนตัวต่อผู้ชมมากขนาดนั้น เพราะมันขาดมุมมองในแง่ของการได้พบปะผู้คน หรือทัศนียภาพจากสถานที่จริง แต่ในอีกแง่ งานอาร์ทแฟร์ออนไลน์กลายเป็นกระบวนการแห่งความเท่าเทียม เพราะผู้เข้าชมทุกคนอยู่หน้าจอเหมือนกัน ผมคิดถึงการค้นพบบางสิ่งจากความบังเอิญ แต่ก็นั่นล่ะ ทุกการคลิกคือการค้นพบ”
-Ariel Bentata, นักสะสมงานศิลปะ

ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่คนจะไม่ดูงานจริงก่อนซื้อ บางครั้งนักสะสมก็แค่ดูผ่านไฟล์รูปตระกูล JPEG หรือ PDF ถึงขั้นครั้งหนึ่ง Winkleman Gallery ที่นิวยอร์คได้จัดนิทรรศการชื่อ ‘Send Me the JPEG’ ซึ่งเป็นการให้ความรู้เพิ่มเติมด้วยว่าผู้ซื้อบางคนไม่เคยเห็นงานแต่ตัดสินใจซื้อด้วยเรื่องของสี มีดีลเลอร์คนหนึ่งเคยไปเห็นงานศิลปะจัดวางไม้และกระจกของ Jorge Pardo ที่อาร์ทแฟร์และติดต่อซื้อให้นักสะสมที่ไม่ได้มาดูผลงานจริงด้วยตัวเอง แต่พอนำไปติดตั้งจริงที่บ้าน พวกเขาเห็นว่าสีไม่ตรงกับที่เห็นหรือคิดว่าน่าจะเป็น Kim ก็เลยได้รับค่าคอมมิสชั่นเป็นงานชิ้นนั้นไป หรือเคยมีกรณีอย่างผลงานของ Damien Hirst ที่มีภาพบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ดอยู่ในภาพวาด แต่รายละเอียดปรากฏไม่ชัดในภาพถ่ายก็กลายเป็นปัญหาในภายหลัง ดังนั้นภาพที่มีความละเอียดสูงอาจช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ หากคุณคิดจะซื้องานศิลปะผ่านการมองเพียง JPEG ก็เห็นจะเป็นหน้าที่ของคุณเองที่จะต้องรอบคอบ

JWD Art Space เองก็ไม่พลาดว่าด้วยเรื่องออนไลน์ ด้วยการพยายามเข้าถึงทุกความร่วมสมัยเพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ผู้ชมและวงการศิลปะไทยร่วมสมัย ทั้งนิทรรศการเสมือนจริง (VR Tour) จำหน่ายงานศิลปะออนไลน์ และแน่นอน ในฐานะตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการแต่เพียงแห่งเดียวของประเทศไทย เรามี Jeff Koons กับประติมากรรมบอลลูนอาร์ทลิมิเต็ดอีดิชั่นที่หลายคนคุ้นเคยกันดีกับความแวววาวบนผิวกระเบื้องเคลือบ ซึ่งได้รับการผลิตจาก BERNARDAUD บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส ตัวแทนผู้ผลิตผลงานของศิลปินชื่อก้องโลก ชมผลงานจริงก่อนได้ที่ JWD Art Space หรือทางออนไลน์ได้ที่ https://www.jwd-artspace.com/shop/?artist_id=6609&sortby=date

Sources:
https://www.artbasel.com/stories/how-to-buy-art-online-ovr-brian-boucher
https://www.artsy.net/news/artsy-editorial-david-zwirner-sold-jeff-koons-sculpture-8-million-gallerys-online-showroom

 

ข่าวสารล่าสุด

SCGJWD Grand Opening & Thank You Party

JWD Art Space นำโดย คุณปุณณภา ปริเมธาชัย ผู้อำนวยการ JWD Art Space เข้าร่วมงาน S...

นิทรรศการพิเศษ The Gate immersive theater

JWD Art Space ชวนคุณสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ในนิทรรศการพิเศษ The Gate immersive ...

ต้อนรับคณะผู้แทนด้านวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในงาน APEC

JWD Art Space ให้การต้อนรับคณะผู้แทนด้านวัฒนธรรมของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่...

นำชมเทศกาลศิลปะระดับประเทศ BAB 2022 รอบสื่อมวลชน

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา JWD Art Space ได้ต้อนรับแขกพิเศษและสื่อมวลชนที่มา...